ความแตกต่างของเทคโนโลยีเสมือนจริง VR AR และ MR
ทำความรู้จักกับความแตกต่างของเทคโนโลยีเสมือนจริง VR AR และ MR
เทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality Technology) มีมาหลายสิบปีในต่างประเทศ และเป็นที่รู้จักของประเทศไทยในเมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีหลายๆแบรนด์นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในกิจกรรมทางการตลาด โดยนำเอามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร และรวมถึงการสร้างแบรนด์ต่างๆ เทคโนโลยีเสมือนจริงนั้นอาจเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในหลายอุตสาหกรรมในอนาคต
Virtual Reality (VR) การจำลองโลกเสมือนจริง
Virtual Reality (VR) หมายถึง การสร้างสภาพแวดล้อมดิจิทัลแบบเสมือนจริงขึ้นมาแทนที่โลกแห่งความเป็นจริง โดยผู้ใช้งานนั้นจะสามารถสัมผัสได้ทั้งภาพ เสียง และสามารถรู้สึกได้ว่าตัวเองนั้นได้เข้าไปอยู่ในโลกของดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นมาผ่าน VR Headset ที่นำมาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือเป็นแบบ Standalone คล้ายๆกับการที่เล่นเกม และมีฉากจริงสถานที่จริง หรือฉากที่ถูกสร้างขึ้นมา และเราเข้าไปอยู่ในเกมนั้นด้วยตัวเอง เราสามารถมองทุกอย่างได้ทั้ง 360 องศา ด้วยจุดเริ่มต้นจากอุตสาหกรรมเกมจนมาปรับใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น
การชมห้องหรือบ้านตัวอย่างผ่าน VR Headset
การชมพิพิธภัณฑ์แบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ หรือ VR Headset
การทำสื่อการสอนทางการแพทย์ ด้วยการจำลองการผ่าตัด
Augmented Reality (AR) การนำวัตถุมาอยู่ในโลกจริง
Augmented Reality (AR) หมายถึง การซ้อนทับเนื้อหาดิจิทัลประเภทต่างๆ ในรูปแบบของสามมิติ วิดีโอ ข้อความ หรือจะเป็นข้อมูลประเภท Interactive บนสภาพแวดล้อมจริง ด้วยการมองผ่านแอพพลิเคชันบนมือถือ แทปเล็ต นอกเหนือจากการแสดงผลผ่านมือถือหรือแทปเล็ตแล้ว เทคโนโลยี AR ยังสามารถสร้างผ่านกล้อง หรือแว่นตาแบบพิเศษ เราจะสามารถมองเห็นภาพ หรือข้อความในรูปแบบสามมิติขึ้นมาในสภาพแวดล้อมจริง เช่น
ร้านขายเสื้อผ้าให้ลูกค้าลองใส่ชุดผ่านหน้าจอ และสั่งซื้อออนไลน์ ที่ใช้เทคโนโลยี AR
อิเกีย (IKEA) ทำแอพพลิเคชันให้ลูกค้าทดลองเอาเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบสามมิติไปลองวางในบ้านก่อนการทำการตัดสินใจสั่งซื้อMixed Reality (MR) ประสบการณ์ไร้รอยต่อ
Mixed Reality (MR) หมายถึง MR เป็นหนึ่งในรูปแบบ AR ที่ดูมีความเหมือนจริงมากยิ่งขึ้น และสร้างประสบการณ์ (Immersive Experience) ได้ดีมากยิ่งขึ้นผ่านกล้องฮาโลเลนส์ (Halolens) หรือ Mixed Reality (MR) Headset หรือการผสมผสานระหว่างวัตถุเสมือนจริงให้เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง ที่มีปฏิสัมพันธ์และสามารถโต้ตอบ (Interact) กับผู้ใช้งานได้นั่นเอง เช่น
การแพทย์ได้นำ MR มาใช้ในการเรียนรู้ระบบภายในร่างกาย การฝึกสอนการผ่าตัด
Microsoft ทำแว่น Halolens ขึ้นมาเพื่อใช้ในธุรกิจประเภทต่างๆa